แหล่งเงินทุนภายนอก มีอะไรบ้าง คนที่จะหาเงินลงทุนสำหรับกิจการต้องรู้ !


แหล่งเงินทุนภายนอก
จากบทความก่อนหน้า เพื่อนๆ คงทราบแล้วว่า แหล่งเงินทุน มีความสำคัญต่อการทำธุรกิจมากแค่ไหน แหล่งเงินทุน มีด้วยกัน 2 ลักษณะ คือ แหล่งเงินทุนภายนอก และแหล่งเงินทุนภายใน เราลองมากทำความรู้จักแหล่งเงินทุนภายนอก หรือ แหล่งเงินทุนภายนอกกิจการ กันให้มากขึ้นดีกว่าค่ะว่าคืออะไร และมีอะไรบ้าง
แหล่งเงินทุนภายนอก คืออะไร
แหล่งเงินทุนภายนอก คือ เงินทุนที่กิจการจัดหามาได้จากภายนอกกิจการ ภาษาอังกฤษ คือ External Finance แหล่งเงินทุนภายนอกเป็นแหล่งเงินทุนที่มีค่าใช้จ่ายในการได้มาซึ่งเงินทุน ประกอบด้วย ดอกเบี้ย ผลตอบแทน ค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการ เป็นต้น
แล้วแหล่งเงินทุนภายใน มีลักษณะอย่างไร ?
โดยปกติแล้ว แหล่งเงินทุนภายใน ถือเป็นแหล่งเงินทุนในอุดมคติของผู้ประกอบการหลายๆ คน เพราะไม่มีต้นทุนในการจัดหา อย่างไรก็ตาม ธรรมชาติของการดำเนินธุรกิจให้ราบรื่น หลายครั้งที่กิจการต้องพิจารณาการนำ แหล่งเงินทุนภายนอก เข้ามาใช้ลงทุนในกิจการในกรณีฉุกเฉิน เพราะสามารถทำได้หลายวิธี
แหล่งเงินทุนภายนอก มีอะไรบ้าง?
1. แหล่งเงินทุนภายนอกที่มาจากเงินกู้ยืมของบุคคลอื่น
หนึ่งในวิธีการจัดหาเงินทุนจากภายนอกด้วยการกู้ยืมจากพ่อ แม่ พี่ น้อง หรือบุคคลอื่น ส่วนใหญ่มักเป็นเงินจำนวนไม่มาก หากสามารถกู้ยืมได้จากคนสนิท ก็อาจมีค่าใช้จ่ายในการจัดหาเงินทุนน้อย เช่น ไม่คิดดอกเบี้ย หรือแล้วแต่ตกลงกันระหว่างผู้กู้และผู้ให้กู้
นอกจากกู้ยืมจากคนรู้จักแล้ว อาจรวมไปถึงการทำเรื่อง เงินกู้นอกระบบ ด้วย โดยเป็นการจัดหาเงินทุนจากนายทุนหนี้นอกระบบ ในกรณีหลังนี้ ผู้กู้มักจะถูกคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงกว่าปกติ หรือสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด เงื่อนไขการกู้ยืมซับซ้อน หรือไม่ชัดเจน จึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นกรณีใดก็ตาม
อ่านเพิ่มเติม : กู้เงินออนไลน์ มีลักษณะอย่างไร เหมาะกับการลงทุนหรือไม่ พร้อมข้อดี-ข้อเสีย
2. แหล่งเงินทุนภายนอกที่เป็นเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
ถือเป็นแหล่งเงินทุนภายนอกที่ผู้ประกอบการหลายคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี มีบริการเงินกู้หลายรูปแบบ ทั้งแบ่งตามระยะเวลาแบบกู้ระยะสั้น หรือระยะยาว หรือแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการกู้ยืม อัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับประเภทของเงินกู้ ประกอบกับการประเมินความเสี่ยงของผู้กู้ มักต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ และใช้ระยะเวลาในการดำเนินการค่อนข้างนาน
3. การจัดหาแหล่งเงินทุนภายนอกจากตลาดสินเชื่อออนไลน์ Moneywecan
แหล่งเงินทุนภายนอกรูปแบบใหม่ มีทั้งแหล่งเงินทุนระยะสั้น และ แหล่งเงินทุนระยะยาว เป็นการระดมเงินทุนจากนักลงทุนผ่านตลาดสินเชื่อออนไลน์ เพื่อปล่อยกู้ให้กับธุรกิจที่ผ่านการประเมิน ถือเป็นสินเชื่อเพื่อธุรกิจแบบทางเลือกให้แก่ผู้ประกอบการที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ สามารถรู้ผลการอนุมัติเงินได้ใน 3 วันทำการ และไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน
อ่านเพิ่มเติม : แหล่งเงินทุนระยะสั้น คืออะไร ไม่มีหลักประกันกู้เงินได้หรือไม่ ?
4. แหล่งเงินทุนภายนอกจากการออกตราสารทางการเงิน
การออกตราสารทางการเงินเพื่อระดมทุนจากบุคคลภายนอก แบ่งออกเป็น
-ออกตราสารทุน ได้แก่ หุ้นสามัญ และหุ้นบุริมสิทธิ โดยที่ผู้ลงทุนจะมีฐานะเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน
–ตราสารหนี้ เช่น ตั๋วสัญญาใช้เงิน และหุ้นกู้ ผู้ลงทุนจะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ของกิจการ
5. แหล่งเงินทุนภายนอกกิจการการร่วมทุน
รวมถึงการหาพันธมิตรทางธุรกิจมาร่วมหุ้น สำหรับกิจการที่มีศักยภาพที่ดีหรือมีแนวโน้มการเติบโตที่สูงในอนาคต ผู้ประกอบการอาจเล็งเห็นความสามารถนี้ นำบริษัทไปเสนอร่วมทุนหรือหาพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อร่วมหุ้น เพิ่มทุนให้แก่กิจการได้อีกทางหนึ่ง
สมัยนี้ยิ่งบริษัทที่มีความโดดเด่น มีผลประกอบการที่ดี และเป็นธุรกิจที่นักลงทุนเห็นแววว่าจะไปได้ไกลในอนาคต ผู้ประกอบการอาจไม่ต้องทำอะไรมาก ก็อาจจะมีนักลงทุนมาเสนอเงินทุนให้เพื่อร่วมทุนกับกิจการของเราเองก็ได้เช่นกัน
ซึ่งผลจาก แหล่งเงินทุนภายนอก ลักษณะนี้ ไม่เพียงแต่ว่ากิจการจะได้เงินลงทุน แถมไม่มีดอกเบี้ย กิจการยังมีโอกาสพัฒนาธุรกิจให้ไปได้ไกลยิ่งขึ้น จากความรู้และความเชี่ยวชาญของผู้ร่วมทุนได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของแหล่งเงินทุนภายนอกลักษณะนี้คือ ปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับอำนาจการบริหารจัดการ ตลอดจนความหวาดระแวงในเรื่องของ Know how ของธุรกิจที่อาจกลายเป็นการสร้างคู่แข่งที่น่ากลัวของกิจการได้อีกด้วย
วิธีการเลือกแหล่งเงินทุนภายนอกระบบ
วิธีหาแหล่งเงินทุนภายนอกที่เหมาะสมกับกิจการ คือ ผู้ประกอบการต้องพิจารณาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนต่างๆ โดยคำนึงถึง
-วงเงินในการใช้เงินทุน
-หลักทรัพย์ที่ใช้ค้ำประกัน
-วัตถุประสงค์ในการใช้เงินทุน
-ต้นทุนทางการเงินของเงินทุน; ดอกเบี้ย, ค่าธรรมเนียม, ค่าบริการ และผลตอบแทนอื่นๆ
อ่านเพิ่มเติม : 4 วิธี หาแหล่งเงินทุน แบบง่าย ๆ สำหรับการทำธุรกิจโดยเฉพาะ !
การจัดหา แหล่งเงินทุนภายนอก มีหลากหลายวิธี แต่ละวิธีมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับแต่ละกิจการ ผู้ประกอบการจึงควรพิจารณาปัจจัยหลายๆ ส่วนของกิจการเพื่อเลือกใช้เงินทุนภายนอกที่เหมาะสม และช่วยให้การจัดหาเงินทุนมีประสิทธิภาพที่สุดนั่นเอง