มาทำความรู้จักกับ “ ตลาดทางการเงิน ” คืออะไร ? การลงทุนในหลักทรัพย์ สามารถแยกออกเป็น กี่ประเภท ?

by Donlaya C.
October 24th, 2021 • 6 minutes to read

ตลาดทางการเงิน

ตลาดทางการเงิน ( Financial Market) หรือ Money Market ถือเป็นศูนย์รวมทางการเงินที่มีบทบาทสำคัญต่อชีวิตของเราทุกคนเป็นอย่างมาก เป็นตลาดที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การเงิน การลงทุนของทุกชาติ ซึ่งตลาดทางการเงินจะมีความสำคัญขนาดไหน ติดตามกันได้ในบทความนี้ Moneywecan สรุปข้อมูลมาให้แล้ว

ตลาดทางการเงิน คืออะไร

ความหมายของตลาดการเงิน คือ ศูนย์กลางหรือสถานที่สำหรับกิจกรรมการซื้อขายผลิตภัณฑ์หรือ ตราสารทางการเงินจากบุคคล (หรือหน่วยงาน) หนึ่งไปยังอีกบุคคล (หรือหน่วยงาน) หนึ่ง หากลองนึกง่ายๆ ก็เหมือนตลาดทั่วๆ ไป ที่เราเข้าไปซื้อขายแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ต่างๆ แต่ในตลาดทางการเงินหรือ Money Market ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ซื้อขายในตลาดแห่งนี้ก็ย่อมเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็น หลักทรัพย์ พันธบัตร ตราสารทางการเงินต่างๆ เช่น ตราสารหนี้ ฯลฯ 

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับตราสารหนี้ได้ที่นี่

ซึ่งในตลาดการเงินจะมีการ กำหนดราคาหรือการคำนวณมูลค่า ขั้นตอนการซื้อขาย การส่งมอบ และการชำระราคาระหว่างกัน เพื่อที่จะอำนวย ความสะดวกในการแลกเปลี่ยน

วัตถุประสงค์ของตลาดการเงิน อีกหนึ่งข้อคือ เพื่อใช้ในการเป็นช่องทางจัดการแหล่งเงินทุน โดยเป็นที่ที่ ผู้มีเงินทุน และผู้ที่ต้องการมองหาแหล่งเงินทุนได้มาพบกันอีกด้วยนั่นเอง

ตลาดทางการเงินในประเทศไทย มีลักษณะเป็นอย่างไร?

สำหรับตลาดการเงินของไทยเอง ก็มีบทบาทที่สำคัญต่อการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางและการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย เนื่องจาก ตลาดการเงิน ถือเป็นศูนย์กลางของการทำธุรกรรมเพื่อการกู้ยืมและการลงทุน ทำให้เงินที่หมุนเวียนในระบบการเงินจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ที่ก่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่อไป  

โครงสร้างของตลาดการเงินของไทยสามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์ รูปแบบของการทำธุรกรรม หรือประเภทของหลักทรัพย์ในการทำธุรกรรมได้ โดยโครงสร้างตลาดการเงินไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทหลัก ดังนี้

ตลาดทางการเงิน แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง?

1.ตลาดเงิน

ประเภทที่  1 คือ ตลาดเงิน เป็นตลาดสำหรับการกู้ยืมและการลงทุนระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี เกิดขึ้นจากการที่ผู้มีเงินออม หรือผู้ลงทุนมีความประสงค์ที่จะใช้เงินออมไปสร้างรายได้หรือประโยชน์จากการลงทุนในระยะสั้นๆ

ซึ่งตลาดเงิน ก็ได้นำพาผู้มีความต้องการใช้เงินทุนระยะสั้นมาเจอกัน ตลาดเงินจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เงินทุนในการบริหารสภาพคล่องในช่วงสั้นๆ ประกอบไปด้วยธุรกรรมต่างๆ ได้แก่ ธุรกรรมซื้อขายตราสารหนี้ระยะสั้น ตั๋วเงินคลัง ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วแลกเงิน ธุรกรรมการกู้ยืมแบบไม่มีหลักประกันระหว่างธนาคารพาณิชย์ (Interbank transaction) ธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร (Repurchase Agreement: repo) เป็นต้น  ​

คลิกอ่านเพิ่มเติม : มีเงิน 1,000 ลงทุนอะไรดี สามารถนำเงินไปต่อยอด ทำอะไรได้บ้าง

2.ตลาดทุน 

ตลาดเงินตลาดทุน คือ แหล่งหรือศูนย์รวมในการระดมทุน และ การลงทุนระยะยาวกว่า 1 ปี โดย ตลาดทุนยังแบ่งย่อยออกได้อีก 2 ประเภท ตามประเภทของตราสารหรือสิทธิที่ผู้ลงทุนได้รับ นั่นก็คือ 

2.1 ตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นช่องทางการระดมทุนของภาคธุรกิจผ่านการออกจำหน่ายหุ้นสามัญ

2.2 ตลาดตราสารหนี้ ซึ่งผู้ลงทุนมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ โดยตราสารที่ใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนมีทั้งพันธบัตรรัฐบาลที่ภาครัฐเป็นผู้ออกและหุ้นกู้ระยะยาวที่ภาคเอกชนเป็นผู้ออก 

คลิกอ่านเพิ่มเติม : ออมเงินเดือนละ 1,000 ธนาคารไหนดี พร้อมแนะนำการลงทุนอีกรูปแบบที่คิดว่าน่าสนใจมากๆ

3.ตลาดเงินตราต่างประเทศ

ตลาดเงินตราต่างประเทศ หรือ Foreign Exchange Market คือ แหล่งซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสกุลต่างๆ เพื่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ โดยอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินจะเคลื่อนไหวไปตามอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศในแต่ละช่วงเวลา

ซึ่งปัจจัยสำคัญที่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยน ได้แก่ มูลค่าการค้าและกระแสเงินลงทุนระหว่างประเทศ  รวมทั้งการคาดการณ์ของผู้เล่นต่างๆ ในตลาดอีกด้วย

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ : ตลาด Forex คืออะไร กันดีกว่า สำหรับนักลงทันที่สนใจลงทุน

4.ตลาดอนุพันธ์

ตลาดอนุพันธ์ คือ ศูนย์รวมการซื้อขายตราสารทางการเงินที่ราคาขึ้นกับสินทรัพย์อ้างอิงหรือ ตราสารอนุพันธ์ (Derivetive) เช่น เงินตราสกุลต่างๆ หุ้น ตราสารหนี้ สินค้าโภคภัณฑ์หรือสินค้าเกษตร ตราสารอนุพันธ์อาจเป็น forward  futures  swap หรือ option นิยมใช้เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย หรือความผันผวนของราคาสินทรัพย์อ้างอิง เป็นต้น

ตลาดเงิน และ ตลาดทุน แตกต่างกันอย่างไร ?

ประเด็นหลักๆ ที่ ตลาดเงิน และตลาดทุน มีความแตกต่างกัน คือ ตลาดเงิน เป็นศูนย์รวมการกู้ยืมและการลงทุนระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในระยะสั้นๆ ให้แก่ผู้ที่ต้องการใช้เงินทุน

ในขณะที่ ตลาดทุน มีวัตถุประสงค์ในการระดมทุนและการลงทุนระยะยาวกว่า 1 ปี ซึ่งผู้ใช้แหล่งเงินทุนจากตลาดทุนมักมีวัตถุประสงค์ในการนำเงินทุนไป ขยาย ลงทุนในธุรกิจในระยะยาวๆ นั่นเอง

ในการทำธุรกิจหรือแม้แต่การใช้ชีวิตประจำวันทั่วไป เราล้วนต้องวนเวียนอยู่ในตลาดเงินทั้งที่อาจจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของตลาดเงินจึงทำให้ผู้อ่านทราบมากขึ้นว่า หากในอนาคตต้องกู้ยืมเงิน หรือทำธุรกรรมเกี่ยวกับการเงินประเภทใดจัดอยู่ในตลาดการเงินแบบไหนกันบ้าง

SHARE
53
SHARES