แหล่งเงินทุนไม่มีหลักทรัพย์ คืออะไร ที่ไหนดี 2562 เช็คเลย !


แหล่งเงินทุนไม่มีหลักทรัพย์
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ทำธุรกิจ เป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสูง สินค้าดี มีนวัตกรรม แต่ประสบปัญหาที่ว่า อยากต่อยอดขยายธุรกิจ อยากได้ทุนเพิ่มแต่หลักทรัพย์มีจำกัด หรือ มีไม่เพียงพอกับการใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน จนเป็นกังวลว่าจะมี แหล่งเงินทุน สำหรับการลงทุนอยู่บ้างไหม อย่ากังวลใจไป เพราะยังมี แหล่งเงินทุนไม่มีหลักทรัพย์ ที่จะเป็นคำตอบให้กับคุณได้
แหล่งเงินทุนไม่มีหลักทรัพย์ คืออะไร?
แหล่งเงินทุนไม่มีหลักทรัพย์ คือ การกู้ยืมสินเชื่อที่ผู้ขอสินเชื่อไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ในการวางค้ำประกันสินเชื่อ
ในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อของผู้ให้บริการ “หลักทรัพย์ค้ำประกัน” เป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีผลต่อการประเมินความเสี่ยงของผู้กู้บางประเภท ซึ่งหลักทรัพย์ค้ำประกันส่วนใหญ่มักเป็น สังหาริมทรัพย์จำพวก รถยนต์ เครื่องจักร พันธบัตร เพื่อการลงทุน หรือบัญชีเงินฝากธนาคาร รวมถึงในส่วนของอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และในบางครั้งยังมีการอนุญาตให้ใช้บุคคล เป็นผู้ค้ำประกันได้ด้วยเช่นกัน
เอกสารที่ใช้ขอแหล่งเงินทุนไม่มีหลักทรัพย์
เอกสารที่ใช้ในการขอสินเชื่อแบบไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน อาจแตกต่างกันไปตามแต่ผู้ให้บริการจะกำหนด โดยหลักๆ ประกอบด้วย กรณีที่ผู้ขอสินเชื่อเป็น…
1. ผู้มีรายได้ประจำ
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– ใบรับรองเงินเดือน หรือหลักฐานการรับ/จ่ายเงินเดือนจากนายจ้าง
– สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร
2. ผู้มีอาชีพอิสระ
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– กรณีเป็นสัญญาจ้าง อาจใช้สำเนาสัญญาว่าจ้างและหลักฐานการจ่ายเงินค่าจ้าง
– กรณีเป็นแพทย์ ทนายความ ผู้สอบบัญชี วิศวกร สถาปนิก ควรแสดงใบอนุญาตประกอบวิชาชีพด้วย
– บัญชีเงินฝาก พร้อมใบแจ้งยอดบัญชี หรือสเตทเมนต์ (statement) ของบัญชีเงินฝากของตนเองหรือของกิจการย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน
– หลักฐานรายได้อื่นๆ
3. นิติบุคคล
– สำเนาทะเบียนการค้า หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
– สำเนางบการเงินปีล่าสุด และย้อนหลังไม่น้อยกว่า 3 ปี
– สำเนาแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี
– บัญชีเงินฝาก พร้อมใบแจ้งยอดบัญชี หรือสเตทเมนต์ (statement) ของบัญชีเงินฝากของตนเองหรือของกิจการย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน
– แผนที่แสดงที่ตั้งสถานประกอบการ
แหล่งเงินทุนไม่มีหลักทรัพย์ ที่ไหนดี 2562
1. สินเชื่อเงินสด – สินเชื่อส่วนบุคคล หรือสินเชื่ออเนกประสงค์ เหมาะกับผู้ประกอบการที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือบุคคลค้ำประกัน เมื่อได้รับอนุมัติ ผู้ขอสินเชื่อจะได้รับเงินเป็นเงินสดทั้งก้อน หรือเงินโอนเข้าบัญชีทั้งก้อน มีอัตราดอกเบี้ยประมาณ 14 – 28% ต่อปี
อ่านเพิ่มเติม : สมัครสินเชื่อบุคคล ใช้อะไรบ้าง สินเชื่อเงินสด หรือ บัตรกดเงินสด แบบไหนดีกว่ากัน
2. สินเชื่อบัตรเครดิต – แหล่งเงินทุนไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันในรูปแบบสินเชื่อ มาในลักษณะ “บัตร” ใช้รูดจ่ายค่าสินค้าและบริการแทนเงินสด สามารถกดเงินสดออกจากตู้เอทีเอ็มได้ แต่จะมีการคิดค่าธรรมเนียมในการบริการที่สูง คิดดอกเบี้ยเมื่อมีการรูดใช้จ่ายสินค้าหรือบริการ
โดยเจ้าของบัตรมีหน้าที่นำเงินไปชำระค่าใช้จ่ายในรอบบัตรเครดิตที่ถูกใช้ไปตามที่ผู้ให้บริการกำหนด อนุมัติวงเงินในบัตรตั้งแต่ 2 -5 เท่าของรายได้ มีอัตราดอกเบี้ยประมาณ 16 – 23% ต่อปี
3. บัตรกดเงินสด – สินเชื่อบุคคลในรูปแบบบัตร เช่นเดียวกัน แต่แตกต่างจากบัตรเครดิตตรงที่ บัตรกดเงินสด จะใช้กดเงินสดออกจากตู้ ATM เท่านั้น ไม่สามารถนำไปรูดซื้อสินค้าและบริการได้ อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 18 – 28% ต่อปี คิดดอกเบี้ยเมื่อมีการกดเงินออกไปใช้ ผู้ถือบัตรกดเงินสดจะต้องทำการชำระเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยจากที่กดเงินสดออกไปเป็นรายเดือน
4. สินเชื่อเพื่อธุรกิจ ตลาดสินเชื่อออนไลน์ Moneywecan – สินเชื่อเพื่อธุรกิจ แบบโอนเงินเข้าบัญชีผู้ขอสินเชื่อทั้งก้อนจากการระดมทุนจากนักลงทุนหลายร้อยรายบนแพลทฟอร์ม
มีจุดเด่นตรงที่ไม่ต้องใช้สินทรัพย์ค้ำประกัน พร้อมอนุมัติสินเชื่อรวดเร็วภายใน 3 วันทำการ และมีอัตราดอกเบี้ย 8 – 15% ต่อปี (ขึ้นอยู่กับคะแนนเครดิต)
อ่านเพิ่มเติม : สมัครสินเชื่อออนไลน์ เพื่อธุรกิจและส่วนบุคคล ใช้เอกสารอะไรบ้าง พร้อมขั้นตอนสมัคร
โดยการขออนุมัติสินเชื่อ ผู้ให้บริการ ตลาดสินเชื่อออนไลน์ จะประเมินเครดิตผู้ขอสินเชื่อโดยใช้เทคโนโลยีทางการเงิน (Fintech) เพื่อประเมินความสามารถในการชำระเงินคืน ตลอดจนพฤติกรรมทางการเงินของผู้ขอสินเชื่อ ประกอบกับเอกสารต่างๆ ที่ผู้ขอสินเชื่อจะดำเนินการส่ง และขอสินเชื่อผ่านระบบออนไลน์ทั้งหมด ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานไปได้มาก และทำให้กระบวนการการอนุมัติเงินเป็นไปอย่างรวดเร็ว
จะเห็นได้ว่า แหล่งเงินทุนไม่มีหลักทรัพย์ ค้ำประกัน เป็นอีกแหล่งเงินทุนสำคัญสำหรับผู้ประกอบการหลายๆ คน แถมยังมีทางเลือกที่หลากหลายของสินเชื่อแบบไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ไว้เป็นตัวเลือกที่ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้แหล่งเงินทุนที่เหมาะสมกับตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ