แหล่งเงินทุนระยะยาว คืออะไร พร้อมประโยชน์ของเงินลงทุนระยะยาว แบบที่ใครก็คาดไม่ถึง !


แหล่งเงินทุนระยะยาว
การลงทุนระยะยาวในปัจจุบันมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดหาแหล่งเงินทุน ซึ่งสามารถแบ่ง แหล่งเงินทุน ออกเป็นเงินทุนระยะยาว และเงินทุนระยะสั้น โดยที่การพิจารณาเพื่อจัดหา แหล่งเงินทุนระยะยาว หรือสั้นนั้น ก็ดูที่วัตถุประสงค์ของการนำเงินทุนไปใช้นั่นเอง
แหล่งเงินทุน ถือว่ามีบทบาทสำคัญต่อทั้งบุคคลธรรมดา และภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาเงินทุนเพื่อใช้จ่ายส่วนตัว ซื้อยานพาหนะหรือที่อยู่อาศัย รวมถึง กู้เงินลงทุน ในภาคธุรกิจ เช่น การจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อใช้หมุนเวียนในธุรกิจ หรือลงทุนขยายกิจการ เป็นต้น เงินทุน ถือว่ามีความสำคัญต่อธุรกิจมาก เป็นปัจจัยในการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง และระหว่างดำเนินกิจการ เราลองมาดูกันว่าแหล่งเงินทุนระยะยาวนั้นคืออะไร พร้อมแนะนำวิธีการจัดหาแหล่งเงินทุนระยะยาวสำหรับการลงทุนในธุรกิจกันค่ะ
แหล่งเงินลงทุนระยะยาว คืออะไร
ในการพิจารณาการจัดหา แหล่งเงินทุนระยะยาว หรือ แหล่งเงินทุนระยะสั้น ในการดำเนินธุรกิจ สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องพิจารณาเป็นอันดับแรก คือ วัตถุประสงค์ของการนำเงินไปใช้ เงินลงทุนระยะยาว คือ เงินทุนที่มีระยะเวลาของการชำระคืนเกินกว่า 1 ปีขึ้นไป โดยส่วนมากธุรกิจจัดหาเงินทุนระยะยาวเพื่อวัตถุประสงค์ในการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร เช่น ซื้อเครื่องจักรราคาสูง, ก่อสร้างอาคาร หรือโรงงาน หรือซื้อที่ดิน เป็นต้น
การลงทุนระยะยาว (เงินกู้ยืม) มีลักษณะดังนี้
1. อัตราดอกเบี้ย มีสองลักษณะแล้วแต่ผู้กู้ตกลงกับผู้ให้บริการ แหล่งเงินทุนระยะยาว ได้แก่
-อัตราดอกเบี้ยคงที่ คือ อัตราดอกเบี้ยที่ถูกกำหนดไว้เป็นอัตราเดียวตลอดอายุสัญญา
-อัตราดอกเบี้ยลอยตัว คือ อัตราดอกเบี้ยสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยสภาวะการทางตลาดเงิน เช่น MRR+1% เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม : เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ดีจริงหรือไม่ กู้เงินดอกเบี้ยต่ำ ที่ไหนดี มีคำตอบมาฝาก
2. ระยะเวลาในการกู้ยืม สำหรับเงินทุนระยะยาวมักมีระยะเวลาในการกู้ยืมตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เช่น 1-3 ปี, 5 ปี ไปจนถึง 10 ปี โดยที่กิจการจะบันทึกเงินกู้ระยะยาวนี้เป็นหนี้สินระยะยาว
3. วงเงินกู้สูงกว่า ด้วยระยะเวลาในการผ่อนชำระที่ยาวนานกว่า และโดยส่วนมาก การกู้ในลักษณะนี้ ผู้กู้มักนำเงินไปลงทุนในกิจกรรมที่ใช้เงินลงทุนเยอะ หรือในสินทรัพย์มูลค่าสูง
4. เงื่อนไขการชำระเงินคืน ผู้ให้กู้เงินทุนระยะยาวมักกำหนดให้ผู้กู้ชำระดอกเบี้ยและเงินต้น เป็นงวดๆ โดยอาจจะกำหนดเป็น รายเดือน รายไตรมาส หรือรายปี ก็แล้วแต่ทำการตกลงกัน มักมีการวางเงื่อนไขที่รัดกุม
5. มักใช้หลักประกัน เงินทุนระยะยาว ถือเป็นเงินทุนที่ผู้ให้บริการแหล่งเงินทุนอนุมัติให้กับ ลูกค้าชั้นดีเท่านั้น เพราะถือว่ามีความเสี่ยงมากกว่าเงินทุนระยะสั้น การจัดหาแหล่งเงินทุนระยะยาวจากการกู้ยืม ส่วนมากจึงจำเป็นต้องใช้สินทรัพย์ในการค้ำประกัน
อ่านเพิ่มเติม : เข้าใจความหมายและเลือกใช้แหล่งเงินทุนระยะสั้นและแหล่งเงินทุนระยะยาวอย่างถูกต้อง
การจัดหาแหล่งเงินทุนระยะยาว
1. จัดหาแหล่งเงินทุนระยะยาวจาก แหล่งเงินทุนภายใน เป็นเงินทุนที่ได้จากการดำเนินงาน ได้แก่ กำไรสะสม ถือเป็นเงินทุนที่ไม่มีต้นทุน ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย เป็นแหล่งเงินทุนที่ดีที่สุดของผู้ประกอบกิจการ
2. จัดหาเงินทุนระยะยาวจาก แหล่งเงินทุนภายนอก คือ การจัดหาเงินทุนจากบุคคล/ สถาบัน หรือผู้ให้บริการภายนอก จัดหาได้หลายลักษณะ เช่น
3. การกู้ยืมเงินทุนระยะยาวจากสถาบันการเงิน
4. การออกหุ้นกู้ เพื่อระดมทุนจากประชาชนภายนอก
5. การจัดหาเงินทุนจากส่วนของทุน (Equity) ได้แก่ การออกหุ้นบุริมสิทธิ และหุ้นสามัญ
แหล่งเงินทุนระยะยาวเหมาะกับใคร?
ในการจัดหาแหล่งเงินทุนระยะยาว หรือระยะสั้น ควรถูกจัดทำอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ประกอบการไม่ควรใช้เงินทุนผิดประเภท ควรเลือกจัดหาแหล่งเงินทุนให้มีระยะเวลาที่สอดคล้องกับความสามารถและวัตถุประสงค์ของการใช้เงิน กล่าวคือ ไม่ควรใช้เงิน ลงทุนทุนระยะสั้น เพื่อลงทุนระยะยาว และไม่ควรใช้เงินทุนระยะยาวเพื่อลงทุนระยะสั้น
เนื่องจากลักษณะที่แตกต่างกันของเงินทุนระยะสั้นและระยะยาว เช่น ผู้ประกอบการต้องการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อสร้างโรงงานใหม่ ซึ่งใช้เงินทุนจำนวนมาก หากเลือกกู้เงินทุนระยะสั้นเพื่อลงทุนในลักษณะนี้ ผู้ประกอบการอาจได้รับวงเงินที่ไม่เพียงพอ หรือไม่สามารถมีเงินมาชำระเงินกู้คืนได้เมื่อครบกำหนดสำหรับการจัดหาเงินทุนระยะสั้น
เงินลงทุนระยะยาวเหมาะกับ การลงทุนที่ใช้วงเงินจำนวนมาก ใช้ระยะเวลายาวนานในชำระคืน เช่นการลงทุนในสินทรัพย์อย่าง อาคาร ที่ดิน หรือเครื่องจักร เป็นต้น
ผู้ประกอบการควรเลือกใช้ แหล่งเงินทุนระยะยาว ให้ถูกประเภทกับลักษณะการลงทุน มีระยะเวลาที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เพื่อการนำเงินไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้การชำระคืนเงินมีความสัมพันธ์กับรอบระยะเวลาในการสร้างรายได้ของธุรกิจ ช่วยลดปัญหาเรื่องขาดสภาพคล่องในการจัดหาเงินทุนของกิจการได้อีกด้วย